มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ


มนุษยสัมพันธในองค์การ


ในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้น ย่อมต้องมีการเกี่ยวข้องสัมพันธกัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความสัมพันธของมนุษย์จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ เพื่อส่งเสริมให้มนุษย์สามารถทำงานร่วมกันและดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีคุณภาพและราบรื่น ด้วยธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่อาจดำรงชีวิตในโลกนี้ได้เพียงลำพัง แต่ต้องพึ่งพาและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดังนั้นการติดต่อสัมพันธกับผู้อื่นจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การศึกษาให้เข้าใจและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการสร้างมนุษยสัมพันธหรือการสร้างสัมพันธที่ดีกับบุคคลอื่นนั้น ย่อมส่งผลต่อสัมพันธภาพอันยั่งยืนของมนุษย์นั้นเอง มนุษยสัมพันธจึงมีบทบาทสำคัญ ที่จะชะลอความคิดในด้านมุ่งเอาชนะ และทำลายกันเพียงเพื่อความอยู่รอดของตน ทั้งยังช่วยส่งเสริมความเข้าใจและเสริมสร้างเจตคติที่ดี ในการสร้างสัมพันธอันดีต่อกัน

  1. ความหมายของมนุษยสัมพันธในองค์การ (Human Relations of Organization)
การที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันเพื่อดำเนินกิจกรรมอันมีเป้าหมายเดียวกัน หรือแตกต่างกันเป็นจำเพาะของกลุ่ม ในการอยู่ร่วมกันจะต้องมีการประสานสัมพันธทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบและส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านส่วนตัว  ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้ถือว่าจะต้องเป็นความสัมพันธทั้งสิ้น ทั้งระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลต่อองค์การ
1.1 ความหมายของมนุษยสัมพันธ (Human Relations)
คำว่า “มนุษยสัมพันธ” เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า “มนุษย์” และ “สัมพันธ” ซึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้ความหมายว่า ความสัมพันธในทางสังคมระหว่างมนุษย์ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542: 238 อ้างถึงใน พรรณราย ทรัพยะประภา, 2548: 44) จากความหมายต่างๆของคำว่ามนุษยสัมพันธดังกล่าวข้างต้น กล่าวสรุปได้ว่า มุนษยสัมพันธ หมายถึง กระบวนการประพฤติปฏิบัติตนทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการกระทำของตนที่กระทำต่อบุคคลอื่นให้สามารถครองใจเขาได้ เพื่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันที่ดีต่อกัน เกิดความพอใจ รักใคร่นับถือ ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทำงานด้วยความเต็มใจและมีความสุข ช่วยให้เป้าหมายของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
  1.2 ความหมายขององค์การ (Organization)
มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “องค์การ” ดังจะยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางประการดังต่อไปนี้
- ซีน (Schein, 1972: 9 อ้างถึงใน ธงชัย ช่อพฤกษา, 2539: 100) ได้ให้ความหมายขององค์การว่า องค์การ คือ ความร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีเหตุผลของบุคคลจำนวนหนึ่ง เพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ชัดเจนร่วมกัน โดยการแบ่งงานและหน้าที่ และมีลำดับขั้นของอำนาจบังคับบัญชาและมีความรับผิดชอบ
- เวเบอร์ (Weber, 1947: 12 อ้างในถึง ธงชัย ช่อพฤกษา, 2539: 100) ให้ความหมายขององค์การว่า องค์การเป็นหน่วยสังคม หรือหน่วยงานซึ่งมีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ร่วมมือกันให้บริการและดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับวัสดุในการผลิต
- จากความหมายขององค์การที่กล่าวมา สรุปได้ว่า องค์การ คือ หน่วยงานต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคราชการ ที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธต่อกัน มีการกำหนดสถานภาพและบทบาทลดหลั่นกันไป เพื่อการทำงานร่วมกันมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น